Dashboard คืออะไร พร้อมประโยชน์และตัวอย่าง

What is dashboard

สมมุติว่าคุณกำลังขับรถไปเที่ยว แล้วอยู่ได้ยินเสียงดังขึ้นมาจากกระโปรงหน้าของรถ เมื่อหันไปมองที่ Dashboard ก็เห็นว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์พุ่งสูงขึ้น และรู้ได้ทันทีว่ามีบางสิ่งผิดปกติ ทำให้สามารถจอดรถได้ทันเวลาก่อนที่เครื่องจะร้อนไปมากกว่านี้ จะเห็นได้ว่า Dashboard แสดงข้อมูลที่สำคัญประกอบการตัดสินใจ ก่อนที่จะเกิดอะไรขึ้นได้อย่างทันท่วงเวลา

ในส่วนของธุรกิจ ถ้าธุรกิจของคุณมีปัญหา ก็สามารถใช้ Data Dashboard มาแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้ทันเวลา เพราะ Dashboard เป็นเหมือนเครื่องมือหนึ่งที่แสดงข้อมูลสำคัญขององค์กร ที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนองค์กรไปในทางที่ดีที่สุด

ในบทความนี้เราจะมารูุ้จักกับเครื่องมือสุดฮิตที่เรียกว่า Data Dashboard กัน พร้อมแล้ว ไปกันเลย!

Data Dashboard คือ

Data Dashboard
Data Dashboard ในองค์กร

Data Dashboard คือเครื่องมือในการจัดการข้อมูลแบบหนึ่งที่ติดตาม วิเคราะห์ และแสดงดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน (KPIs – key performance indicators) หรือ ดัชนีชี้วัดอื่นๆ รวมถึงจุดสำคัญของข้อมูลออกมาในรูปแบบ visual ทำให้เราสามารถเห็นความเป็นไปของธุรกิจหรือสิ่งที่เราสนใจใได้แบบ real-time

นอกจากนี้การที่มีข้อมูลขนาดใหญ่เยอะๆ และต้องการหา insight จากทุกอย่างนั้นก็ดูจะไม่ใช่งานง่าย การใช้ Data Dashboard จะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้น สามารถเปรียบเทียบ ดูแนวโน้ม และคาดการได้ว่าสิ่งที่ขวางทางเดินของบริษัทอยู่คืออะไร

ความแตกต่างของ Dashboards และ reports

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะแสดงข้อมูลออกมาในสองรูปแบบ Dashboards และ reports

  • รายงาน (Report) คือการรวบรวมข้อมูลการทำงานต่างๆของบริษัทจากที่เดียวกัน โดยอาจจะออกมาในรูปแบบภาพรวมกว้างเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเลยก็ได้ สามารถอยู่ในทุกรูปแบบ ทั้งตาราง กราฟ ข้อความ หรือตัวเลข มักจัดทำเป็นทุกเดือน รายไตรมาส หรือ รายปี
  • แดชบอร์ด (Dashboard) คือการนำข้อมูลที่สำคัญมาสรุปให้เห็นภาพในหน้าเดียว เพื่อให้ดูง่ายและสามารถตีความสั้นๆในพริบตา โดยจะเป็นข้อมูลจากการทำรายงาน หรือที่อื่นๆ มักเป็นข้อมูลที่อ้พเดทสม่ำเสมอจนไปถึง real-time

ลองมาดูความแตกต่างให้เห็นชัดๆกันในตารางด้านล่างนี้

DashboardsReports
จำนวนหน้า (Page)หนึ่งหน้าหนึ่งหน้าหรือมากกว่านั้น
ขอบเขตรวบรัด และเป็นเหมือนสรุปยาวและมีรายละเอียดมากกว่า
ลักษณะ เน้นภาพ กราฟและชาร์ทส่วนมากเป็นตาราง ข้อความ อาจมีกราฟประกอบ
ความแตกต่างระหว่างรายงานและ Dashboard

ประโยชน์ของ Dashboard

  • สังเกตค่า ตัวชี้วัด หรือ KPIs หลายตัวได้พร้อมกัน: อาจจะเป็นเรื่องยากในการทำรายงานให้เห็นสถานการณ์ของบริษัทในหน้าเดียว แต่ Dashboard สามารถทำได้
  • สามารถเห็นภาพรวมแบบ real-time ได้: เนื่องจาก Dashboard เป็นเครื่องมือที่แสดงอยู่บนแอปพลิเคชั่นออนไลน์ การดึงข้อมูลมาทำได้ทั้งเป็นรอบๆ และแบบ real-time
  • ประหยัดทรัพยากรและเวลาในการทำรายงานแบบดั้งเดิม: การใช้ Dashboard ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการทำรายงานแบบดั้งเดิม ที่ต้องนั่งเขียน จัดเรียงและพิมพ์ออกมาทุกครั้ง นอกจากนั้นยังใช้กระดาษน้อยลงอีกด้วย
  • เป็นระเบียบเรียบร้อย และเข้าใจตรงกัน: มีความเป็นมาตรฐาน ทำให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงประเด็น ไม่สับสน
  • มีความ Interactive: สามารเลื่อนไปมา มีลูกเล่น ดูข้อมูลตื้นลึกได้ ทำให้น่าสนใจ

รูปแบบของ Dashboard

การสร้าง Dashboard นั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เราจะมาพูดถึง 3 รูปแบบหลักๆกัน

1. Strategic Dashboard สำหรับ C-level

Strategic Dashboard
ตัวอย่าง Strategic Dashboard

Strategic Dashboard

  • เป็น Dashboard สำหรับวางแผนกลยุทธ์
  • ช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการทุกระดับ
  • เน้นแสดงตัวชี้วัดที่สำคัญของบริษัท หรือ KPIs
  • มองแล้วเข้าใจง่าย รู้ได้เลยว่าภาพรวมที่มีประสิทธิภาพของธุรกิจ และมุมมองเชิงเปรียบเทียบของบริษัทและบริษัทอื่นเป็นอย่างไร
  • ไม่ต้องเสียเวลาคิดวิเคราะห์

ยกตัวอย่าง เช่น แดชบอร์ดรายงานภาพรวมของการให้บริการลูกค้า โดยมีเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่อให้เข้าธุรกิจและวางแผนจัดการกับปัญหาได้ทันท่วงที

2. Operational Dashboard สำหรับ Management & Team Lead level

Operational Dashboard
ตัวอย่าง Operational Dashboard

Operational Dashboard

  • เป็น Dashboard ที่ไว้ตรวจสอบและควบคุมความคืบหน้าของงาน
  • แสดงภาพรวม ณ ปัจจุบันของสาขา แผนก หรือสายผลิตภัณฑ์ และแสดงผลเมื่อเกิดปัญหาได้แบบ real-time
  • มักจะไม่ต้องเจาะลึกลงไปในรายละเอียดข้อมูลมากนัก

Google Analytics เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของ Operational Dashboard ที่แสดงสถิติ ภาพรวมของเว็บไซต์ได้แบบ real-time เช่น จำนวนคนเข้ามาดูต่อหน้า ระยะเวลาที่คนเข้าชมเพจ

3. Analytical Dashboard สำหรับ Data Analyst (นักวิเคราะห์ข้อมูล)

Analytical Dashboard
ตัวอย่าง Analytical Dashboard

Analytical Dashboard

  • เป็น Dashboard สำหรับการวิเคราะห์
  • สามารถมองข้อมูลได้จากหลายแง่มุม มักจะไม่รวมตัวชี้วัด
  • มีข้อมูลหลากหลายจำนวนไม่น้อย เช่น ข้อมูลย้อนหลัง (history data) ที่เราสามารถกรอง เปรียบเทียบ และมองหา insight เองได้
  • เน้นมุมมองต่างๆของข้อมูลที่เราวิเคราะห์ออกมา

ตัวอย่างหนึ่งคือแดชบอร์ด MRR (monthly recurring revenue) ซึ่งจะแสดงรายได้สะสม เช่นตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ใช้รายได้ในแต่ละเดือน สามารถเลือกดูข้อมูลได้ เพื่อให้เห็นแนวโน้มเป็นต้น

รู้จักประเภทต่างๆของ Dashboard กันไปแล้ว เรามาลองดูต่อกันว่ามีเครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยสร้าง Dashboard ได้

Technology for Dashboard

เราสามารถใช้ครื่องมือหลากหลายในการสร้าง Dashboard โดยหลักๆที่เราจะนำเสนอกันมีดังนี้

โปรแกรมสำหรับสร้าง Dashboard ที่ต้องเสียเงิน

Tableau logo
Tableau logo

Tableau เป็นหนึ่งในซอฟแวร์ที่ได้รับความนิยม และสร้าง Dashboard ได้สวยงาม มักใช้ในบริษัทแนว corporate หรือที่มีงบค่อนข้างสูง มีทั้งเวอร์ชั่นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ก็ใช้งานได้จำกัด และเวอร์ชั่นที่ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ มี Community ที่ค่อนข้างใหญ่คอยช่วยเหลือ และมีตัวอย่างการใช้งานมากมาย

เพื่อนๆสามารถเข้าไปดูตัวอย่าง Dashboard ที่สร้างโดย Tableau ได้ที่ Tableau Dashboard Showcase

PowerBI logo
PowerBI logo

PowerBI เป็นอีกหนึ่งซอฟแวร์ที่ไว้สร้าง Dashboard และช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) ทางธุรกิจ ซึ่ง BI ย่อมาจาก Business Intelligence เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Microsoft อย่่าง Azure, Office 365, และ Excel อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังราคาเป็นมิตรกับ SMBs และ startups อีกด้วย มีแหล่งเรียนรู้ให้เข้าไปศึกษาวิธึใช้งานได้

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Dashboard ของ PowerBI ได้ที่นี่

โปรแกรมสำหรับสร้าง Dashboard ฟรี (open source)

Metabase logo
Metabase logo

Metabase เป็นหนึ่งในซอฟแวร์ใช้งานง่ายในการสร้างกราฟ Dashboard และ Ad hoc Query ได้โดยลากวาง หรือใช้ SQL ก็ได้ สามารถเห็นรายละเอียดข้อมูลได้โดยตรง นอกจากนีี้ยังติดตั้งพร้อมใช้งานได้ภายใน 5 นาที ทำให้เราไปทำความเข้าใจ และลองเล่นกับข้อมูลได้ทันที

สามารถเข้าไปลองใช้งานและสร้าง Dashboard แบบฟรีๆได้ที่ Metabase.com

Redash logo
Redash logo

Redash เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือจากบริษัทลูกของ Databricks ที่ทำให้เราคอนเน็คกับข้อมูลและดึงข้อมูลจากหลายแหล่งพร้อมกัน เช่น SQL, NoSQL หรือ API มาสร้าง Dashboard เพื่อตอบคำถาม หา insight และแชร์กับคนอื่นได้เลย

สามารถเข้าไปลองใช้งานและสร้าง Dashboard แบบฟรีๆได้ที่ Redash.io

แนะนำคอร์สเรียนรู้การสร้าง Dashboard

ชื่อคอร์สรายละเอียดลิงค์

Tableau Free Tutorial for Beginners

  • เรียนรู้การใช้ Tableau ด้วยข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และการสร้าง Maps in
  • เชื่อมต่อกับหลายแหล่งข้อมูล และการคลึนข้อมูล
ดูคอร์ส

Tableau Free Training Videos

  • การใช้ Tableau ตั้งแต่เริ่มต้น การเตรียมข้อมูล การสร้าง Dashboard และ Stories
  • ทำความเข้าใจ Tableau ได้ทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Creator หรือ Admin
ดูคอร์ส

Free Power BI Quick Start – Create a PBI Dashboard in 90 Minutes

  • การสร้าง Dashboard โดยดึงข้อมูลจาก Excel
  • การเขียน DAX เบื้องต้น เช่น IF() SWITCH() หรือ SUMX()
  • การ publish ออกไปให้โลกเห็น
ดูคอร์ส

Learn Power BI Basics for Free

  • Power BI และ Dashboard เบื้องต้นภายในไม่กี่ชั่วโมง
ดูคอร์ส

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ รู้จักกับ Dashboard มากขึ้นนะคะ และหากบทความนี้มีประโยชน์ อยากรบกวนช่วยแชร์ให้คนอื่น ๆ ได้มาอ่านบทความนี้ด้วยค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถ้าสนใจอ่านเพิ่มเติมสำหรับอาชีพที่ใช้ Dashboard สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่


ถ้าชอบเนื้อหาแนวนี้ ติดตามบทความดี ๆ ด้าน Data และวีดิโอสนุก ๆ ดูชิล ๆ แล้วได้ความรู้กันได้ที่ Facebook Page: DataTH และ Youtube Channel: Data Science ชิลชิล ครับ แล้วเจอกันนะคะ

ขอบคุณรูปจาก datapine.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save