คุณเหมาะกับงานสาย Data ในบริษัทใหญ่ หรือ Startup หาคำตอบที่นี่!

startup enterprise data science job

ความท้าทายในการทำงานสาย Data ไม่ใช่แค่เพียงตัวงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานแบบองค์รวมของทีมอีกด้วย ซึ่งมักจะมาพร้อมกับรูปแบบของบริษัท ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ (Corporate, Enterprise) และบริษัทขนาดเล็ก (Startup / SME)

บริษัทขนาดไหนเหมาะกับเรามากกว่า ในบทความนี้อ่านแล้วได้คำตอบแน่นอน

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหางานสาย Data ที่เหมาะกับตัวเองอยู่ ก็ต้องไม่พลาดที่จะมองไปถึงองค์กรด้วยว่าเหมาะกับสไตล์การทำงานของคุณหรือไม่ 

เนื้อหาในบทความนี้ มาจาก Live หัวข้อ “Data in Corporate vs Startup” ซึ่งอยู่ในคอร์ส Road to Data Engineer 2.0 เล่าโดยแอดบอยด์ Data Scientist มากประสบการณ์ ที่ทำงานมาแล้วในองค์กรทุกรูปแบบ ทั้งไทยและต่างประเทศ ถ้าสนใจดูวีดิโอแบบเต็ม ๆ Inbox เพจ มาลงทะเบียนเรียนคอร์ส Road to Data Engineer 2.0 ได้เลย

สารบัญเนื้อหา hide

งาน Data ในบริษัทขนาดใหญ่ แบบ Corporate ทำงานแบบไหน?

บริษัทแบบ Corporate หากให้พูดง่าย ๆ แบบไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ก็หมายถึง บริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีการวางโครงสร้างองค์กรที่เป็นระเบียบแบบแผนและมีแผนกชัดเจน

ในการทำงานกับองค์กรประเภทนี้นั้น ทุก ๆ การตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามระเบียบขององค์กร อย่างเช่น ทีมคุยกัน แล้วต้องส่งเรื่องต่อให้หัวหน้าทีม และอาจจะต้องมีการพูดคุยกันในบอร์ดบริหารอีกครั้งเพื่อตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์กรแต่ละที่ก็จะมีการบริหารงานและแบบแผนที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นตอนสัมภาษณ์องค์กรแบบนี้ควรสอบถามให้ดีว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นแบบไหน

งาน Data ใน บริษัทขนาดเล็ก – กลาง แบบ Startup ทำงานแบบไหน?

เชื่อว่าหลายปีให้หลังมานี้ หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นชินกับคำว่าบริษัท Startup มาแล้วอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคนที่ทำงานสาย Tech ต่าง ๆ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่า Startup คืออะไร Startup (สตาร์ทอัป) เป็นบริษัทที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ส่วนมากจะเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือ Pain Point ของผู้ใช้งาน

อย่างเช่น Airbnb ที่เป็นบริษัท Startup แก้ปัญหาในเรื่องของที่พักในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นต้น ส่วนมากแล้ว Startup จะมีโครงสร้างบริษัทที่ค่อนข้างกระชับ มีทีมที่เล็ก ทำงานรวดเร็ว และปรับตัวตามผลที่ได้อยู่ตลอดเวลา

data job in corporate vs startup1
เว็บไซต์ Airbnb บริษัท startup ที่ทำด้าน Data ได้เก่งมาก เป็นผู้่สร้างครื่องมือทำ Data Pipeline ชื่อดัง อย่าง Airflow อีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างงานสาย Data ในบริษัท Corporate และ Startup

หากดูจากข้อมูลคร่าว ๆ ด้านบนแล้ว ก็น่าจะทำให้พอเดาได้ว่า การทำงานในบริษัทใหญ่ หรือ Corporate นั้นน่าจะเหมาะกับคนที่ชอบความมีแบบแผนมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำงานในบริษัททั้งสองแบบก็มีความแตกต่างที่เหมาะสมกับคนแต่ละแบบ

ความยืดหยุ่น

บริษัทแบบ Startup มีความยืดหยุ่นมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่อย่างแน่นอน หลาย ๆ ครั้งการทำงานเริ่มต้นโปรเจกต์ใหม่ ๆ หรือการปรับเปลี่ยนบางอย่าง สามารถทำได้ทันทีที่ได้ข้อมูลมา

✅ สรุป: Startup เหมาะกับคนที่ชอบความยืดหยุ่นในการทำงาน

ความมั่นคงในการทำงาน

ในข้อนี้จะต้องบอกว่า สำหรับใครที่มีอาชีพหรือตำแหน่งในฝัน และต้องการความมั่นคงในหน้าที่การงาน ก็อาจจะเหมาะกับการทำงานในบริษัทใหญ่มากกว่า

สรุป: Corporate เหมาะกับคนที่กำลังมองหาความมั่นคง

การเรียนรู้และการพัฒนาตัวเอง

สำหรับใครที่อยากพัฒนาตัวเองแบบก้าวกระโดด อาจจะเหมาะกับการทำงานในบริษัท Startup มากกว่าในบริษัทขนาดใหญ่ เพราะคุณจะได้ลองทำทุกอย่างที่ทีมต้องการ ต้องช่วยกันระดมไอเดียและหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในทีมของคุณเอง

สรุป: Startup เหมาะกับคนที่อยากเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

เมื่อได้รู้จักกับบริษัททั้งสองประเภทไปแล้ว เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกกันว่าสำหรับสายงาน Data ในบริษัทใหญ่และในบริษัท Startup จากประสบการณ์ตรง ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทั้งในแง่ของขั้นตอนการทำงาน หน้าที่รับผิดชอบและทีม จากประสบการณ์ของแอดบอยด์ที่มาเล่าให้เราฟัง

data job in corporate vs startup 3
การทำงานสาย Data ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือ Corporate

การทำงานสาย Data ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือ Corporate

ธรรมชาติของคนในบริษัท Corporate

สำหรับบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ จะมีการทำงานที่ค่อนข้างเป็นแบบแผน ตั้งแต่ในส่วนของการสัมภาษณ์งาน สมัครงาน การคุยงานภายในบริษัท ตลอดจนไปถึงการคุยงานกับลูกค้า ที่จะต้องดูมีความเป็นมืออาชีพ มีการแต่งกายที่เรียบร้อย ดูมีความน่าเชื่อถือ และจะมีความเป็นแบบแผนในการพูดคุยถึงเรื่องต่าง ๆ มากกว่า มีการเข้างานเป็นเวลา ทำงานตามเนื้อหาและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

สรุป: Corporate เหมาะกับคนที่ชอบความชัดเจนในหน้าที่

Data Team ในบริษัทขนาดใหญ่

สำหรับ Data Team ในบริษัทแบบ Corporate นั้นจะประกอบไปด้วยตำแหน่งคร่าว ๆ ดังนี้

  • Data Engineer (เป็น Analytics Engineer)
  • Data Analyst (เป็น AI Engineer)
  • Data Scientist (เป็น AI Engineer)
  • ML Engineer (เป็น AI Engineer)
  • ML Ops (เป็น AI Engineer)
  • Data Governance
  • Data Steward
  • Project Manager

สรุป: Corporate เหมาะกับคนที่มีสายงานที่อยากทำของตัวเองชัดเจน

ขั้นตอนการทำงานของ Data Team ในบริษัทขนาดใหญ่

นี่เป็นตัวอย่างขององค์กรหนึ่งที่แอดบอยด์เคยทำ ซึ่งตำแหน่งงานและขั้นตอนจะขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรด้วย

  • ขั้นตอนที่ 1 : Data Engineer จะเป็นผู้ประมวลผลและรวบรวมข้อมูลจากแต่ละแผนกในบริษัท หรือข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่นแอปพลิเคชัน หรือจากพาร์ทเนอร์ ให้อยู่ในที่เดียวกัน ใช้งานง่าย เพื่อส่งมอบให้ทีมได้ใช้งานข้อมูลต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 2 : Data Analyst จะทำหน้าที่ในการทำ queries ต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามที่แต่ละแผนกต้องการ Data Scientist สามารถทำโมเดลต่าง ๆ ขึ้นมาได้เพื่อช่วยวางแผนการทำงาน
  • ขั้นตอนที่ 3 : ML Engineer ทำการใช้ข้อมูลต่าง ๆ ในการเขียนโค้ด (Coding) เพื่อทำโปรดักชันออกมาให้สำเร็จ โดยจะมี ML Ops เป็นคนคอยดูแลเรื่องระบบและการพัฒนาต่อไป

สรุป: Corporate เหมาะกับคนชอบงานแบบมีขอบเขตชัดเจน

data job in corporate vs startup 2
การทำงานสาย Data ในบริษัท Startup ธรรมชาติของคนในบริษัท Startup 

การทำงานสาย Data ในบริษัท Startup 

ธรรมชาติของคนในบริษัท Startup

ส่วนมากแล้วผู้คนใน Startup นั้นแทบจะแยกไม่ออกระหว่างคนที่เป็นระดับหัวหน้าและคนที่เป็นพนักงานในทีม เพราะผู้คนที่ทำงานใน Startup นั้นจะมีความผ่อนคลายมากกว่า ตั้งแต่เรื่องของการแต่งตัว เวลาในการเข้างานออกงาน ตลอดจนไปถึงการพูดคุยในทีมและระหว่างทีม

นั่นก็เพราะว่าองค์กรแบบ Startup นั้นเน้นเรื่องการทำงานและการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นหลัก จึงไม่ค่อยมีพิธีรีตองหรือแบบแผนอะไรมาก ทุกคนพูดคุยกันได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าชอบวัฒนธรรมองค์กรที่ชิล ๆ มากกว่า สาย Startup ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก

สรุป: Startup เหมาะกับคนที่ชอบบรรยากาศการทำงานแบบสบาย ๆ

Data Team ในบริษัท Startup

สำหรับบริษัท Startup ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทีม Data ก็มักจะประกอบไปด้วยตำแหน่งเหล่านี้

  • Data Engineer
  • Data Analyst
  • Data Scientist

จะเห็นว่าตำแหน่งน้อยกว่าทาง Corporate มาก หนึ่งคนอาจใส่หมวกหลายใบ

สรุป: Startup เหมาะกับคนที่ชอบทำงานหลากหลายด้าน

การเข้าถึงข้อมูล

ทุกตำแหน่งในทีมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยอาจจะไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ดูแลข้อมูล เพราะจะเป็นการเน้นให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ เพื่อดึงข้อมูลออกมาทดลองทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ

✅ สรุป: Startup เหมาะกับคนที่ไม่ชอบพิธีรีตองมาก เน้นการสื่อสารเป็นระบบมากกว่า

การสมัครงานสาย Data ใน Corporate และใน Startup

การสมัครงานใน Corporate

  • เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์มาในระดับหนึ่งแล้ว
  • ขั้นตอนการสมัครงานจะต้องผ่านทีม HR ทำให้ถ้าเราทำงานไม่ตรงสายมา หรือเรียนจบไม่ตรงสาย อาจจะ Resume ไม่ผ่านได้ต้องมีการส่งเอกสารเกี่ยวกับประสบการณ์ 
  • อาจจะมีการทำแบบทดสอบก่อนสัมภาษณ์
  • หลังทำการทดสอบ หากผ่าน จึงจะได้สัมภาษณ์กับทีม ซึ่งอาจจะได้สัมภาษณ์กับทั้งทีมเดียวกัน หัวหน้าทีม หรือทีมอื่น ๆ ด้วย

การสมัครงานใน Startup

  • เหมาะกับคนที่เพิ่งเปลี่ยนสายงาน ไม่ต้องมีประสบการณ์มากก็ได้ แต่ต้องพร้อมที่จะพัฒนาและเรียนรู้ไปพร้อมกับทีมและองค์กร
  • มักจะสัมภาษณ์กับ CEO หรือระดับผู้บริหารโดยตรง
  • ถ้าหา Connection กับคนในบริษัทนั้น เช่น เจอตัวจริงตามงานต่าง ๆ หรือ LinkedIn ก็เป็นการเพิ่มโอกาสได้สูงขึ้นมาก

สรุปแล้ว คุณเหมาะกับการทำงานในบริษัทแบบไหน?

คุณเหมาะกับการทำงานในบริษัท Corporate ถ้า…

  • มีประสบการณ์มาแล้วในระดับหนึ่ง
  • ต้องการความมั่นคงในที่ทำงาน
  • ต้องการเรียนรู้ระบบการทำงานอย่างครบวงจร
  • ต้องการเรียนรู้ทักษะการทำงานกับคนหลากหลายทีม
  • ชอบการทำงานที่มีแบบแผน ขอบเขตชัดเจน

คุณเหมาะกับการทำงานในบริษัท Startup ถ้า…

  • เพิ่งเปลี่ยนสายงาน อยากได้ประสบการณ์จากการลงมือทำจริง
  • เป็นคนชอบเรียนรู้ ปรับตัวได้เร็ว
  • ชอบความท้าทาย ทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี
  • ต้องการเรียนรู้ในสายงานอย่างกว้าง ๆ ได้ลองทำหลาย ๆ อย่าง
  • มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
  • ได้ประสบการณ์ตรงในการทำงานและการแก้ปัญหา

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้ไอเดีย มองเห็นภาพว่าคุณเหมาะกับการทำงานในองค์กรแบบใด 

และหากต้องการฟังบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับผู้คนที่ทำงานในสาย Data อย่างครบวงจร คุณสามารถดูวิดีโอ Live 2022 for Road to Data Engineer 2.0 ทั้งหมด 12 วิดีโอเต็ม ๆ ได้แล้ววันนี้ เพียงแค่สมัครเรียนคอร์ส Road to Data Engineer 2.0 กับ DataTH

หรือกดติดตามเราไว้ทาง Facebook หรือ Youtube เพื่อรับอัปเดตเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความสรุปต่อ ๆ ไป

ถ้าชอบฝั่ง Startup หรือ Corporate มากกว่า หรืออยากให้เราเจาะลึกในหัวข้อไหนเป็นพิเศษ สามารถคอมเม้นท์ไว้ได้เลยนะคะ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save