ความรู้มือใหม่สาย Data – รูปแบบข้อมูล พร้อมตัวอย่าง Structured vs Unstructured vs Semi-Structured

structured unstructured semistructured data science beginner 1

ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลและการใช้ข้อมูลเป็นที่สำคัญในการตัดสินใจและพัฒนาในหลากหลายภาคส่วน เราจะพบว่าข้อมูลมีลักษณะที่หลากหลายและซับซ้อนต่างกัน แต่มีใครตอบได้ไหมว่า ข้อมูลในโลกนี้แบ่งได้เป็นกี่ประเภทหลักๆ ถ้าเพื่อนๆรู้ว่ามันมีข้อมูลชนิดไหนบ้างจะช่วยทำให้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้มากขึ้นหรือไม่

ในบทความนี้ เราจะพาไปไขข้อสงสัย และทำความรู้จักกับข้อมูลแต่ละประเภทกัน พร้อมยกตัวอย่างและการใช้งาน และเครื่องมือที่เรามักใช้กับแต่ละประเภท

structured, semi-structured, unstructured data

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง vs ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง vs ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง คืออะไรบ้าง

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured data)

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง คือ ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่กำหนดล่วงหน้า โดยทั่วไปจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล (relational database) หรือตาราง (table) มีลักษณะที่แน่นอน มี field และความสัมพันธ์ระหว่าง field ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และอาจจะมีการวางแผนไว้แล้วว่าเราจะค้นหาข้อมูล หรือ query ข้อมูลในนี้ยังไง

ลักษณะข้อมูลที่มีโครงสร้าง

  • Query ได้ง่าย เพราะเรารู้ว่ามีคอลัมน์อะไร ชนิดของข้อมูลแบบไหน
  • ข้อมูลเป็นระบบระเบียบอยู่ในแถว และคอลัมน์
  • มีโครงสร้างที่แน่นอนและชัดเจน

ตัวอย่างของข้อมูลที่มีโครงสร้าง เช่น

  • ฐานข้อมูล อย่างพวก MySQL, PostgreSQL, Redshift, Oracle
  • ไฟล์ CSV ที่มีคอลัมน์สม่ำเสมอ เช่น ชื่อ นามสกุล และข้อมูลติดต่อ อย่าง เบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่
  • ไฟล์ Excel ที่มีรูปแบบข้อมูลสม่ำเสมอ
excel screen example
ตัวอย่างข้อมูลจาก Excel (Structured Data)

ข้อมูลที่มีโครงสร้างมีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้การจัดเก็บข้อมูลง่าย การสอบถามข้อมูล เช่นจากแบบฟอร์มจะมีประสิทธิภาพ และยังทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลไม่ได้มีโครงสร้างเสมอไป

ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured data)

ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง คือ ข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปแบบที่กำหนดหรือมีเป็นระเบียบ แต่จะมีความซับซ้อนและไม่สม่ำเสมอ ทำให้มันยากต่อการประมวลผลและวิเคราะห์

ลักษณะข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง

  • Query ตรงๆโดยไม่ผ่านการ preprocess ก่อนได้ยาก อาจจะต้องประมวลผลและพยายามทำการจัดให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถ Query ได้ หรือทำการ indexing ข้อมูลก่อน
  • อยู่ในได้หลายรูปแบบ

ตัวอย่างของข้อมูลที่มีไม่มีโครงสร้าง เช่น

  • ข้อความ text ที่ไม่มี format ที่ชัดเจน
  • รูปภาพ
  • วิดีโอ และ ไฟล์เสียง
  • Email
text screen example
ตัวอย่างข้อมูลตัวหนังสือ (Unstructured Data)

ถึงแม้ว่ามันจะซับซ้อน ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างก็ถือเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปลดล็อกศักยภาพของข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น การวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นของลูกค้า (Sentimental analysis) การวิจัยตลาด (Market research) และการแนะนำเนื้อหา (Content recommendation)

ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน (Semi-Structured data)

ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน จะอยู่ระหว่างข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักประกอบด้วยโครงสร้างบางส่วน เช่น มี tag, hierachy หรือมี pattern ที่ทำให้สามารถจัดระเบียบโครงสร้างให้ข้อมูลได้บางส่วน แต่ก็ไม่ได้มีโครงสร้างที่ชัดเจนแบบข้อมูลที่มีโครงสร้าง

ลักษณะข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน จะมีการจัดระเบียบโดยการใส่แท็กหรือการจัดระเบียบให้เป็นกลุ่มทางใดทางหนึ่ง ยกตัวอย่างเวลาเราเล่นโซเชียลแล้วมีแฮชแท็ก ข้อมูลที่ถูกเก็บไปก็จะสามารถดึงตัวแฮชแท็ก หรือ query ข้อมูลตรงนั้นออกมาได้
  • มีความยืดหยุ่นมากกว่าข้อมูลที่มีโครงสร้างแต่ก็ไม่ถึงกับซับซ้อนแบบข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง

ตัวอย่างของข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน เช่น

  • ไฟล์ XML และ ไฟล์ JSON
  • Email headers (ประกอบไปด้วย filed หลาย filed เช่น วันเวลา, Subject และอื่นๆ)
  • ไฟล์ logs อย่างพวก service logs, server logs
json data example
ตัวอย่างข้อมูล JSON (Semi-Structured Data)

ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วนมีข้อดีในหลายด้าน เช่น ช่วยให้สามารถจัดโครงสร้างข้อมูลและวิเคราะห์ได้อย่างยืดหยุ่น ในขณะเดียวกันยังรักษาความสัมพันธ์และการจัดลำดับบางส่วนของข้อมูล แต่การจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วนต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงเพื่อรับมือกับลักษณะการเป็น hybrid ของมัน

การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่มีโครงสร้าง ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน

แต่ละประเภทของข้อมูลมีข้อแตกต่างในด้านความสามารถและข้อจำกัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของในการใช้งาน

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการ การควบคุมความถูกต้องให้กับข้อมูล (Data Integrity) และ รูปแบบที่แน่นอน (Data Consistency) เช่น ระบบ transaction และการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analytics)

ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เหมาะสำหรับการรวบรวมข้อมูลแบบ real-time จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น feed โซเชียลมีเดีย และข้อมูลจาก sensor

ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Internet of Things (IoT) และการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data

Use Cases การใช้งานข้อมูลที่มีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง

use case data type

การใช้งานของข้อมูลที่มีโครงสร้าง ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน หลากหลายและครอบคลุมหลาย industries

ในด้าน finance

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้าง มักใช้ในการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ความเสี่ยงและ regulatory compliance
  • ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง จะเก็บข้อมูลการวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นของลูกค้า (sentimental analysis) และ algorithm การซื้อขาย

ในด้าน Healthcare

  • ข้อมูลที่มีโครงสร้าง จะใช้กับข้อมูลบันทึกการรักษาและข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก (clinical decision support systems)
  • ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง มักอยู่ในข้อมูลการวิเคราะห์รูปภาพทางการแพทย์ (medical imaging analysis) และ การค้นหายาใหม่ๆ (drug discovery)

เครื่องมือและเทคโนโลยี ในการจัดการข้อมูล Structured Data vs Unstructured Data vs Semi-Structured Data

ในปัจจุบัน มีเครื่องมือและเทคโนโลยีหลายอย่างที่ใช้ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละรูปแบบ ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้าง ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

tools data type
  • สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง เครื่องมือที่มักจะใช้ได้แก่ MySQL, Oracle และ Microsoft SQL Server
  • ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เทคโนโลยีเช่น Apache Hadoop, Apache Spark และ Elasticsearch มักถูกนำมาใช้
  • ข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน NoSQL databases เช่น MongoDB และ Couchbase จะมีความเหมาะสมในการใช้งาน

สรุป และคำถามส่งท้ายสำหรับธุรกิจที่อยากนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่มีโครงสร้างบางส่วน แต่ละประเภทมีลักษณะและการใช้งานที่แตกต่างกัน การเข้าใจคุณลักษณะและข้อจำกัดของแต่ละประเภทข้อมูลจะช่วยในการตัดสินใจในการจัดการข้อมูลได้อย่างมีเสถียรภาพ

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการสร้างโมเดลการจัดการข้อมูลที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จในยุค digital

คำถามส่งท้าย สำหรับธุรกิจที่อยากนำ Data มาใช้

  • ธุรกิจหรือองค์กรของคุณมีข้อมูลประเภทใดบ้างและใช้อย่างไร?
  • คุณมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดที่ช่วยในการจัดการข้อมูลประเภทต่างๆ?
  • คุณจะใช้องค์ความรู้ในการจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการตัดสินใจ?

การตอบคำถามเหล่านี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการใช้ข้อมูลของคุณอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยให้องค์กรของคุณเติบโตอย่างยั่งยืนในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในปัจจุบันและอนาคต

หากสนใจเรื่อง การใช้ Social Media Analysis อ่านต่อได้ที่ สัมภาษณ์ Wisesight ผู้นำด้านข้อมูล Social Media เจาะลึก Customer Insight ให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง

ถ้าเพื่อน ๆ คิดว่าบทความนี้มีประโยชน์ อยากฝากให้ช่วยแชร์ให้เพื่อน ๆ หน่อยนะคะ และถ้าอยากติดตามบทความดี ๆ ด้าน Data กันบน Facebook หรืออยากมาพูดคุย ติชมกัน เชิญได้ที่ Facebook Page: DataTH – Data Science ชิลชิล เลยนะค้าา

แล้วพบกันใหม่บทความหน้าค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save