สิบปีก่อน จะมีสักกี่คนที่มองเห็นความสำคัญของข้อมูลและนำไปใช้เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ พี่โบ๊ทจาก Builk เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เล็งเห็นโอกาส เริ่มลงมือทำ จนมาถึงวันนี้ที่ Builk เป็น Platform สำหรับผู้รับเหมาที่ได้รับความนิยม และขยายฐานลูกค้าออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
วันนี้แอดแจนมีโอกาสได้สัมภาษณ์แนวคิดของพี่โบ๊ทแบบเจาะลึก ว่าเขามีแนวคิดยังไง และใช้ประโยชน์ของข้อมูลอย่างไรให้ธุรกิจสามารถผ่านช่วย Covid-19 มาได้ ถ้าเพื่อนๆ พร้อมแล้ว ไปอ่านกันเลยค่าา
แอดแจน : สวัสดีค่า แนะนำตัวสั้นๆ ให้ฟังหน่อยค่ะ
โบ๊ท : สวัสดีครับ ผมชื่อโบ๊ทนะครับ ตอนนี้เป็น CEO ของ Builk ครับ
แอดแจน : ช่วยเล่าที่มา ที่ไปของ Builk ให้พวกเราฟังหน่อยค่า
โบ๊ท : เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ผมเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมาก่อนครับ แล้วเจอปัญหาที่เยอะมาก เลยอยากพัฒนา Business Process ของผู้รับเหมาให้ดียิ่งขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยี ก่อนอื่นเลยคือเราต้องมีความรู้ความเข้าใจปัญหา และวิถึชีวิตของผู้รับเหมา ซึ่งเราพบว่าผู้รับเหมานั้นยุ่งมาก ไม่ค่อยมีเวลาเลย
ดังนั้นถ้าเราอยากให้เขามาใช้ระบบของเรา เราต้องชัดในเรื่อง “ระบบที่ง่ายต่อเรียนรู้” และ “Value ที่มอบให้ผู้รับเหมา”
สิบกว่าปีก่อน “ข้อมูลในอุตสาหกรรมก่อสร้าง” เป็นข้อมูลที่แตกต่าง และยังไม่มีเจ้าใหญ่ลงไปเล่นกับข้อมูลนี้ ทาง Builk จึงเริ่มวางแผนเก็บข้อมูล ในแต่ละ Journey ของผู้รับเหมา โดยการสร้าง Platform โปรแกรมควบคุมต้นทุนก่อสร้างที่ให้บริการฟรี เพื่อดึงให้ผู้รับเหมามาใช้บริการมากที่สุด
แอดแจน : Builk มีการวางแผนเก็บข้อมูลอย่างไร และเอาไปใช้ประโยชน์ยังไงบ้าง
โบ๊ท : เราเก็บข้อมูลพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นบน Platform เพื่อสร้าง Experience และ Value กับผู้ใช้งานมากที่สุดครับ
เช่น ตอนแรกๆ มีคนใช้งาน 15 คน ผมก็มานั่งดูทุกวันเลยว่า 15 คนนี้เค้าเป็นใครบ้าง ใช้ฟีเจอร์สไหนบ้าง เค้าทำเอกสารกี่ใบ แต่ละใบมีมูลค่าเท่าไหร่
ซึ่งพอมีข้อมูลแล้ว เราก็รู้ว่าจุดไหนที่มีปัญหา หรือสร้างประสบการณ์ไม่ดีกับลูกค้า เราก็เลือกปัญหาสำคัญๆ (Priority) ไปปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อสร้าง Value ให้ได้มากที่สุด
ข้อมูลทำให้เรามองสถานการณ์ได้ขาดมากขึ้น
พี่โบ๊ท CEO @ Builk
นอกจากนี้ ข้อมูลก็ช่วยหาช่องว่างการตลาดได้ด้วย อย่างในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ผมก็เอาข้อมูลที่มีในระบบมาวิเคราะห์ว่าตอนนี้มีงานรับเหมาแบบไหนที่ยังได้ไปต่อบ้าง เช่น งานราชการ
ทางทีมก็เปิด war room เพื่อ monitor ปัจจัยสำคัญๆ เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ในระยะสั้น โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญ และเปลี่ยน Function คนในทีมไปยัง industry / segment ที่มีโอกาสอยู่
คำถามสำคัญคือ เราจะแตกต่างได้ไง ในข้อมูลที่เรามี
พี่โบ๊ท CEO @ Builk
ผมมองว่า ในฐานะ Platform เราต้องสร้าง Trust และดูแลข้อมูลลูกค้าอย่างเต็มที่ และข้อมูลของผู้รับเหมาที่เก็บไปวิเคราะห์ก็เพื่อสร้าง Value กลับคืนให้กับผู้รับเหมาใน Platform
เช่นนำเสนอวัสดุราคาประหยัดที่ราคาถูกกว่าที่ผู้รับเหมารายเล็กๆ จะหาได้ เพราะผู้รับเหมาหรือ SMEs ถ้าไปซื้อเอง จะไม่มีอำนาจต่อรอง Builk ซึ่งเป็น Platform จึงมาช่วยตรงนี้
แอดแจน : สุดยอดมากค่ะ แล้วอะไรเป็นจุดสำคัญในการรัน Builk ให้มาถึงทุกวันนี้
โบ๊ท : ฺ สำหรับ Builk เองที่มีอายุ 10 กว่าขวบเนี่ย ผมว่าสิ่งที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้ได้คือ
- Who you are รู้จักตัวเอง
ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นเยอะมาก และสื่อสารในเรื่องเดียวกันหมด ทำให้แบรนด์ไม่ชัด ลูกค้ามองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างคุณกับแบรนด์อื่นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องกลับมาคิดและตอบคำถามตัวเองครับว่า Why you? แบรนด์คุณมีแก่นความเชื่ออะไรทำไมแบรนด์เราถึงต้องเกิดขึ้นมา แบรนด์ช่วยแก้ปัญหาอะไรให้กับลูกค้า ลูกค้าได้ผลประโยชน์อะไรบ้าง
- เลือกสนามแข่งขันที่ตัวเองถนัด
เมื่อรู้แล้ว ว่าเราคือใคร มีจุดแข็งอะไร จุดต่อไปคือแล้วจุดแข็งหรือสิ่งที่เรามี จะเอาชนะในตลาดกลุ่มไหนได้บ้าง อย่างของ Builk เราเน้น Target ผู้รับเหมาในลักษณะ B2B และ SMEs เป็นหลัก เพราะเรามีฐานข้อมูลที่พร้อม สามารถ Match ความต้องการได้ง่าย และบริหารต้นทุนค่าส่งได้ดีกว่า เราจึง position ตัวเองเป็นผู้ช่วยจัดซื้อของ B2B และ SMEs
- Experiment is a key !!
พี่เชื่อว่ามันไม่มี short cut สำหรับความสำเร็จในทุกๆธุรกิจ น้องบางคนมี passion เยอะ แต่บางทีก็ใจร้อนเกินไปจนพลาดแก่นของธุรกิจไป ลองนึกตามง่ายๆ นะ เราเป็นหมอได้ไหมจากการอ่านหนังสืออย่างเดียว? ทุกอย่างมันเกิดจากการฝึกฝน ลองผิด ลองถูก จากลงมือทำอย่างหนักและมาพัฒนาต่อเรื่อยๆ จนเรา Master ในเรื่องนั้นๆ และเกิดเป็น Core Concept ของธุรกิจเรา พี่เชื่อในกฏ 10,000 ชั่วโมงที่เราใช้เพื่อการฝึกฝน พัฒนา ลองผิดลองถูกจนกว่าจะเป็น Master
แอดแจน : อยากให้พี่โบ๊ทแชร์เทคนิคการบริหารให้ฟังหน่อยค่า เผื่อใครอยากนำไปปรับใช้ในองค์กรของตัวเอง
โบ๊ท : สิ่งที่พี่ให้ความสำคัญในการบริหารทีมมี 3 อย่างหลักๆ คือ
1. Communicate กับทีมบ่อยๆ และเป็นตัวอย่างให้เห็น
ในการทำธุรกิจ แน่นอนว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งในเรื่องของ Direction และ Culture ขององค์กรด้วย ซึ่งสำหรับ Builk และพี่เชื่อในการลงมือทำ เน้น Experiment ใหม่ๆ พี่เองก็ต้องทำให้ดูก่อน มีทำแล้ว Fail บ้าง ก็ให้กำลังใจ และเรียนรู้จากผลลัพธ์กันไป
2. เน้นการทำ Experiment ใหม่ๆ
จากที่บอกไปว่าเน้นการ Experiment ใหม่ๆ พี่เลือกจะให้ Mission ย่อยๆ แบบ Project based กับทีม โดยให้ทีมลุย Project ใหม่ๆ ภายใต้เวลาที่กำหนด จากนั้นเอา Feedback ที่ได้มาแชร์และเรียนรู้กัน โปรเจ็กต์ไหนเวิร์กก็ให้ทีม Business Development มาดูแลต่อ
3. Ownership ให้กับคนทำงาน
การให้ทีมไปทำ Experiment ใหม่ๆ คือให้คนในแต่ละโปรเจ็กต์คิดและตัดสินใจด้วยตัวเองเลย เช่น ทำเพื่อทดสอบสมมติฐานอะไร แก้ปัญหาอะไร เพื่อให้เขารู้สึกอิน และอยากลุย เราก็มีหน้าที่ให้คำแนะนำเขา
แอดแจน : สิ่งที่อยากฝากให้กับคนที่สนใจทำสตาร์ทอัพ
โบ๊ท : ในการรันธุรกิจ Key Metric เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อวัดผลว่ากิจการเราดำเนินไปยังทางที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งตัว Key Metric นี้ก็แตกต่างกันในแต่ละ Stage ของธุรกิจ เช่น ช่วงเริ่มต้น – เติบโต – ขยายธุรกิจ คนที่เป็นผู้ประกอบการต้องรู้ stage ของตัวเอง รู้ว่าในตอนนี้ควรใช้ Metric อะไรบ้างครับ
จบไปแล้วกับบทสัมภาษณ์เจาะลึกแนวคิดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ของพี่โบ๊ท ถ้าเพื่อนๆ อยากให้แอดไปสัมภาษณ์ใคร ตำแหน่งไหน ในอุตสาหกรรมอะไร inbox มาที่เพจ data th.com – data science ชิลชิล ได้เลยนะคะ