ในช่วงที่กระแสเรื่อง Data มาแรงมากๆ ทำให้อาชีพอย่าง Data Scientist , Data Analytics กำลังเป็นที่พูดถึง วันนี้แอดจะพูดถึงอีกหนึ่งอาชีพที่น่าจับตามองไม่แพ้กัน นั่นก็คือการทำ Data Visualization เพื่อนำเสนอข้อมูลรูปแบบต่างๆ ให้คนอื่นเข้าใจ และเกิด Impact จากข้อมูลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
แจนมีโอกาสได้พูดคุยกับพี่แต๊ง และพี่สอง จาก Boonmee Lab ถึงพลังของ Data Visualization ที่สร้าง Impact เน้นๆ ให้ข้อมูล ไปอ่านกันได้เลยจ้า
แอดแจน : สวัสดีจ้า แนะนำตัวเองและงานที่ทำสั้นๆหน่อยค่า
พี่สอง : ชื่อสองค่า ปัจจุบันเป็น Designer อยู่ที่ Boonmee lab ค่า หน้าที่หลักๆคือออกแบบวิธีการนำเสนอข้อมูลให้คนรับสารเข้าใจง่ายค่ะ ซึ่งการเป็น Designer ที่ Boonmee lab นั้นต้องเข้าใจข้อมูลเป็นพิเศษด้วย ว่าข้อมูลแต่ละประเภทควรจะนำเสนอแบบไหน จึงจะสื่อความหมายได้ถูกต้อง เข้าใจง่าย และครบถ้วนที่สุด
พี่แต๊ง : สวัสดีครับ ชื่อแต๊งนะครับ ปัจจุบันเป็น Designer อยู่ที่ Boonmee lab เช่นกันครับ
แอดแจน : พี่ๆเรียนด้านไหนมา ทำยังไงถึงได้มาทำงานด้านนี้คะ ?
พี่แต๊ง : จบจาก Industy Design (การออกแบบอุตสาหกรรม) ผมเป็นคนที่ค่อนข้าง Geek ชื่นชอบ Gadget ต่างๆ เลยอยากเป็น Product Design ประกอบกับโลกเราที่เปลี่ยนมาอยู่บนโลกดิจิทัลกันมากขึ้น เลยมาทำตรงนี้ เพราะน่าจะมีลู่ทางอีกไกลในอนาคตครับ
พี่สอง : เรียนจบเอกโฆษณา-วารสาร ส่วนตัวชอบการเล่าเรื่องและงานครีเอทีฟต่างๆ แต่ไม่อินเรื่องการขายของ เลยผันตัวมาสาย Design ค่ะ
แอดแจน : หลายๆคนอาจจะเพิ่งเคยได้ยิน Boonmee lab ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะว่า Boonmee Lab คืออะไร เกิดขึ้นมาได้ยังไง
พี่สอง : Boonmee Lab เกิดจากการรวมตัวของ Co-Founder 3 คนที่มีความถนัดที่แตกต่างกัน ได้แก่ สาย Data, Design ,Technology
We create meaningful impact through the power of technology, human-centered design and data science combined.
สโลแกนบริษัท Boonmee Lab
งานเรามี 3 พาร์ทหลักๆคือ
- Data Lab : ทำ Data Visualization ,Dashboard และ Data Storytelling ต่างๆ
- Design Lab : ทำ User Experience / User Interface (UX/UI) , Conversational UI และ Usability Testing
- Tech Lab : API Development , Platform Development และ Machine Learning
โดยสองกับพี่แต๊งจะทำในส่วนของ Design Lab เป็นหลักค่ะ
พี่แต๊ง : ส่วนใหญ่คนจะรู้จัก Boonmee lab จากการทำ Data Visualization ซึ่งเป็นหนึ่งใน Passion Project ของเรา ซึ่งจริงๆ Boonmee Lab มีบริการที่มากกว่านั้นเยอะเลย
หลังๆ เรามีการทำ Tools เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภายในให้กับองค์กร เช่น Dashboard ต่างๆ สำหรับหน่วยงานต่างๆแทนการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป โดยเราเน้นความ Customized ตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังมีการทำ Research หาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เข้าใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นข้อมูล Back-up ในการเล่ามีความน่าเชื่อถือด้วยครับ
แอดแจน : น่าสนใจมากๆเลยค่ะ เล่าให้ฟังหน่อยจ้าว่า Data Visualization คืออะไร มีความสำคัญยังไง?
พี่สอง : Data Visualization คือหนึ่งในรูปแบบการสื่อสารสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ เช่น ข้อมูลชนิดต่างๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย และ เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล
A picture is worth a thousand words
การนำเสนอข้อความเป็นกราฟฟิกจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นนั่นเอง
พี่แต๊ง : ต้องบอกก่อนว่าทุกข้อมูลไม่จำเป็นต้องมาทำ Data Visualization ขึ้นอยู่กับ ผู้รับสาร / message / และจุดประสงค์ ของเรา บางทีอาจจะใช้แค่กราฟฟิกง่ายๆ ก็สามารถสื่อสารได้แล้ว
ในมุมของตัวผู้รับสารเอง เมื่อเจอข่าว infographic / Data Visualization ใดๆ ก็อย่าเพิ่งเชื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ทันที ต้องดูแหล่งที่มา และความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยครับ
แอดแจน : ที่ Boonmee Lab จะเริ่มต้นโปรเจกต์นึงขึ้นมา มี Flow การทำงานยังไงบ้าง?
พี่แต๊ง : ต้องดูก่อนว่าเป็นโปรเจ็กต์ประเภทไหน เช่น โปรเจ็กต์การสร้าง Dashboard ให้หน่วยงานภายในองค์กรใช้ เราก็จะโฟกัสที่ requirements ว่าเขาต้องการอะไรจากเราบ้าง รวมถึงต้องคิดเผื่อถึงธุรกิจลูกค้าด้วยว่าเมื่อนำข้อมูลเราไปใช้แล้วจะมีผลกันงานต่อไปของเขายังไง หน่วยงานไหนในองค์กรของเขาต้องใช้ข้อมูลตัวนี้บ้าง เพื่อการออกแบบที่ถูกจุด คลอบคลุม และสร้าง Experience ที่ดีกับผู้ใช้งานมากที่สุด
พี่สอง : ทีม Boonmee Lab ต้องเข้าใจข้อมูลที่จะทำทั้งหมดก่อน ว่ามีข้อมูลประเภทไหนบ้าง แล้วคิดภาพในหัวว่าจะเราจะนำเสนอในรูปแบบแบบไหน เป็นกราฟ หรือ interaction infographic ต่างๆ จากนั้นก็ลองทำ Prototype คร่าวๆ นำไป test เพื่อรับ Feedback
บางข้อมูลที่ดูเข้าใจยาก เราต้องเข้าใจ structure ของข้อมูลก่อน ว่ามันสามารถนำเสนอข้อมูลแบบไหนได้บ้าง อย่างเช่น ตัวอย่างตอนทำ Data Journalism เรื่อง “หวย” ใครรวย? ที่ทำร่วมกับทาง Editor หรือนักข่าว เพื่อนำเสนอเรื่องหวยในมุมมองใหม่ๆ ผ่านข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ให้น่าเชื่อถือ และเข้าใจง่าย
อันดับแรก ทาง Editor ก็จะตั้งสมมติฐานจากข้อมูลก่อน ว่า หวยที่เราๆ ซื้อกันทุกวันเนี่ย จริงๆแล้วมีใครที่รวยขึ้นจากหวยกันบ้าง ?
อันดับสอง มีการวางเส้นเรื่อง เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณที่เยอะมากเราจึงต้องเลือกประเด็นที่สนใจเพื่อนำเสนอ โดยทริคคือควรจะเป็นประเด็นที่ไม่คยมีใครเล่ามาก่อน , เป็นมุมมองที่สร้าง impact ให้กับสังคม และดูว่าข้อมูลที่เรามีเพียงพอไหม
ต่อมา เราก็เลือกรูปภาพการนำเสนอ ให้เข้าใจได้ง่ายและสร้างประสบการณ์กับผู้รับสารมากที่สุด พอออกแบบเสร็จก็นำไป test เพื่อรับ Feedback มาพัฒนาให้ดีขึ้น
แอดแจน : น่าสนุกมากๆเลย แล้วในฐานะที่เราเป็น Designer มี Challenge อะไรในการทำงานกับข้อมูลบ้างเอ่ย ?
พี่แต๊ง : พอลงมือทำข้อมูลจริง แล้วมันไม่เหมือนกับเส้นเรื่องที่เราคิดไว้ตอนแรก ซึ่งก็เกิดจากหลายปัจจัย เช่น ตอนแรกออกแบบกราฟสำหรับแสดงข้อมูล 100,000 rows แต่ได้รับข้อมูลมาแค่ 1,000 rows ทำให้กราฟที่ออกแบบไว้ตอนแรกเกิดความไม่สมดุล และอาจจะไม่สามารถแสดงภาพรวมได้ทั้งหมด
พี่สอง : นอกจากนี้เวลาทำงานร่วมกับองค์กร พบว่าหลายๆหน่วยงานไม่ค่อยได้ทำงานกับข้อมูลมาก่อน ทำให้ไม่เข้าใจข้อมูล หรือบางทีไม่เห็นความสำคัญของข้อมูลด้วยซ้ำ ทำให้ไม่สามารถอธิบายข้อมูลที่มีให้กับเราได้ ทีม Designer จึงต้องไปปรึกษา Expert ด้านข้อมูลใน Boonmee Lab เพิ่มเติม
พี่แต๊ง : นอกจากนี้ยังมีเรื่องความซับซ้อนของ structure ข้อมูล ทำให้ Designer อย่างเราก็ตีความข้อมูลผิดในบางครั้งครับ จึงไม่สามารถ repersent ข้อมูลได้ถูกจุด ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น โจทย์คือให้แสดงผลข้อมูลว่าคนในห้องว่าชอบทานเมนูอะไร เราก็อาจแสดงผลข้อมูลด้วย Pie-chart ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่สามารถแสดงค่าความจริงได้ทั้งหมด เพราะคนในห้อง ในหนึ่งคนอาจจะชอบกินหลายเมนู ทำให้ควรจะใช้รูปแบบการ visualize แบบอื่นแทน การเข้าใจลักษณะข้อมูล , จุดประสงค์การเสนอ และผู้รับสาร จึงเป็นกุญแจสำคัญสำหรับ Designer
พี่สอง : อีกเรื่องที่ลำบากใจสำหรับการเป็น Designer คือการ Balance ความสวย และ Function ค่ะ 555 เราจะทำยังไงให้อยู่ตรงกลางระว่าง Function ของการนำเสนอ ที่ให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย ข้อมูลที่เราต้องการนำเสนอ และความสวยงานของการนำเสนอ
แอดแจน : แล้วสิ่งที่ชอบที่สุดในงานที่ทำอยู่ล่ะ?
พี่แต๊ง : ส่วนตัวชอบตอนที่เราทำ Prototype ออกมาเพื่อเอาไป Test กับผู้ใช้งาน เพราะว่าตอนนั้นจะได้มี interaction กับผู้ใช้งานจริง และได้รับ Feedback ออกมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากขึ้น
นอกจากนี้ด้วยความที่ผมเป็น Designer ผมจะชอบช่วงที่เราได้พัฒนา UI (User Interface) ออกมาให้สวยงามมากยิ่งขึ้นครับ
พี่สอง : สองชอบช่วงที่เราได้ Explore ไอเดียใหม่ๆ ที่ยังไม่มีกรอบอะไรเลย ทุกอย่างเป็นไปได้ มันสนุกกับการได้จินตนาการแนวทางใหม่ๆ
แอดแจน : Culture การทำงานที่ Boonmee lab เป็นยังไงบ้าง
พี่แต๊ง : จริงๆ Boonmee lab ก็เพิ่งขยายตัวมาจากสองปีที่แล้ว Culture ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่พวกเเราร่วมกันสร้างขึ้นมา
พี่สอง : ที่ Boonmee Lab ทุกๆคนจะร่วมกันทำทุกอย่างที่ Meaningful ซึ่งสะท้อนผ่าน passion project , กิจกรรมภายในที่เกิดขึ้น และอื่นๆ
โดยมีสิ่งที่เป็น common Interests คือความสนใจเรื่องการเมือง และการอยากใช้ความสามารถของตัวเองให้เต็มที่และสร้างความ meaningful ต่อไป
พี่แต๊ง : Boonmee lab เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างด้าน lifestyle ทำให้มีความหลากหลาย เราไม่ judge กัน ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้เต็มที่
นอกจากนี้เรายังเน้นการทำงานที่ Creative โดยทำสภาพแวดล้อมส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ทุกคนสามารถแสดงถึงความสนใจของตัวเองได้เช่น มีการเล่น Boardgame , จัด Talk , เชียร์ทีมบอลต่างๆ
ที่สำคัญคือการทำงานแบบ Flat ไม่มี Hierarchy เลย ทำให้มีปัญหาอะไรก็พูดคุยกัน ช่วยๆกันทุกอย่างครับ
We unite as a team and respect individuals. We share one big goal of “Make meaningful stuff”
สโลแกนของ Boonmee lab
แอดแจน : ช่วงนี้ที่ Boonmee Lab มีโปรเจค Data Visualization อะไรที่น่าสนใจมั้ยคะ
พี่สอง : อันนี้ไม่ใช่งานของ Boonmee Lab เต็มตัว แต่มีทีมที่สนใจเรื่องการเมืองกำลังทำโปรเจกต์ชื่อ ‘สมุดพกการเมือง’ เราเก็บ log ต่างๆ ในสภา เช่น บันทึกการลงคะแนนในสภา , คำพูดต่างๆที่เกิดขึ้นในสภา , ผลการโหวตในแต่ละรอบ รวมถึงการรวบรวมประวัติของนักการเมืองทั้งหมดโดยใช้วิธีการ Crowdsourcing ให้ประชาชนเนี่ยแหละ มาช่วยๆกันใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงไป
ซึ่งจุดประสงค์หลักที่ทำขึ้นมาเพราะอยากสร้างความตระหนักเรื่องการทำ Open Data ให้ดีขึ้น ทุกวันนี้ถึงเราจะเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในรูปแบบของ PDF ซึ่งมันไม่ใช่รูปแบบที่คอมอ่านได้ ทำให้เราใช้เวลากับตรงนี้พอสมควร
(ตอนนี้พี่สองบอกว่างานที่เล่าให้เราฟัง เปิด Public แล้วค่า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่: https://theyworkforus.elect.in.th/)
แอดแจน : พี่ ๆ มองว่า Trend ของ Data Visualization จะเป็นยังไงบ้าง ?
พี่สอง : ตอนนี้ข้อมูลมีจำนวนที่เยอะ และหลากหลายมากๆ Data Visualization เป็นสิ่งสำคัญในการเล่าข้อมูลออกในรูปแบบที่คนเข้าใจง่ายๆ ลองนึกภาพคุณย่าที่บ้านถ้าเจอตาราง Excel เยอะๆ ก็มีโอกาสที่แกจะไม่เข้าใจสูงมาก การทำ Data Visualization ให้ข้อมูลนั้นๆเกิด Value มากที่สุดต่อผู้รับสาร
ขอย้ำว่า Data Visualization ไม่ได้เหมาะกับข้อมูลทุกประเภท บางข้อมูลอาจจะใช้แค่กราฟฟิกง่ายๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเล่าอะไร และผู้รับสารเป็นใคร
แอดแจน : เป็นอาชีพที่น่าจับตามองมากๆค่ะ แล้วถ้าอยากทำ Data Visualization เป็นเนี่ย ต้องมีสกิลอะไรบ้าง ?
พี่แต๊ง : สำหรับคนที่สนใจงานด้าน Designer / Data Visualization สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ถ้ามีสกิลเรื่อง Infographic , Infomation Design สามารถเล่าเรื่องข้อมูลเป็นภาพเข้าใจง่ายๆได้ ก็จะเป็นพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว
อีกสกิลคือเป็นคนมี Logic สามารถค่อยๆเข้าใจในข้อมูลที่ซับซ้อน ได้ ซึ่งคนที่พอมีความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ , ความเชื่อมโยง , กราฟ ก็จะเป็นพื้นฐานที่ดี
สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานพวกนี้มาก่อนเลย ก็สามารถเริ่มต้นได้นะ เพราะทุกวันนี้มันสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองหมดแล้ว เช่น สื่อออนไลน์อย่าง Code Academy , ลองทำ Project Open Data ที่ Kaggle หรือแม้แต่การลงมือทำโปรเจ็กต์ง่ายๆง่ายการนำ Personal Data มาพล็อตเป็นกราฟเอง เช่น เดือนนี้ใส่เสื้อสีอะไร ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ก็ทำให้เราเข้าใจศาสตร์นี้มากขึ้นครับ
พี่สอง : สกิลด้านคณิตศาสตร์สำคัญมากจริงๆ บางคนเห็นข้อมูลแล้วช็อคก็ทำไม่ได้นะ 555 สิ่งสำคัญคือเราต้องมานั่งทำความเข้าใจข้อมูล แล้วก็ลุย สู้ต่อไป
นอกจากนี้การเข้าใจรูปแบบของข้อมูลก็เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องรู้ข้อจำกัด สิ่งไหนทำได้ทำได้/ทำไม่ได้, รู้ว่าวิธีการไหนทำให้เราสามารถทำงานได้เร็วกว่า , รู้ว่าข้อมูลนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
แล้วพอเรามีข้อมูลแล้ว ก็มา Explore ต่อว่าข้อมูลที่มีสามารถเอามานำเสนอยังไงได้บ้าง ต้องทำการบ้านเยอะๆ
จบไปแล้วนะคะ กับการสัมภาษณ์พี่สองและพี่แต๊ง Designer จาก Boonmee Lab แอดคิดว่าการทำ Data Visualization เนี่ย มีความสำคัญมากๆ เพราะช่วยให้สื่อสารสิ่งที่เราคิดให้คนอื่นฟังได้เข้าใจง่ายขึ้น แล้วพอเขาเข้าใจเนี่ย ก็จะเกิด Value อื่นๆ และ Impact ตามมาอีกมากมาย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.boonmeelab.com
นอกจากการเป็น Designer พี่สองยังมี วงเล่า : circle talks ซึ่งเป็นพื้นที่ในการพูดคุยเรื่องราวต่างๆ ใครที่สนใจก็กดตามเข้าไปดูกันได้ และใครมีฟีดแบคบทความ หรือคำถามอะไร สามารถอินบ็อกซ์มาได้ที่เพจ Data TH.com – Data Science ชิลชิล ค่าา :)