วงการ AI ในจีนเจอวิกฤตการณ์ “สมองไหล”

china ai data science

ตั้งแต่เริ่มงานที่ออสเตรเลีย แอดก็ได้ฟังเรื่องของวงการ Data Science และ AI ในจีนมาเยอะครับ เพราะเพื่อนร่วมงานบางคนของแอดก็เป็นคนจีนนี่แหละ ที่ย้ายถิ่นฐานมาทำงานในออสเตรเลีย

ต้องยอมรับว่า จีน เป็นประเทศที่นำ Data และ AI มาใช้เยอะมาก ๆ ครับ เผื่อท่านใดยังไม่ทราบ ที่เมืองใหญ่ ๆ ของจีนมีการติดกล้องไว้แทบทุกมุมถนน กล้องนี้จะคอยจับทุกความเคลื่อนไหวของเรา

แอดเคยดูวีดิโอหนึ่งที่สัมภาษณ์ชาวต่างชาติในเซี่ยงไฮ้ เค้าเล่าว่าแค่เค้าเดินข้ามถนนโดยไม่รอไฟแดง บัญชี Wechat ของเค้าก็โดนหักเงินจากรัฐบาลจีนทันที เพราะมีกล้องที่คอยตรวจจับอยู่ว่าคุณเป็นใคร

วันนี้แอดได้อ่านบทความของ MIT Technology Review เรื่อง “เส้นทางการครองอำนาจด้าน AI ของจีนกำลังเจอปัญหาสมองไหล” ซึ่งน่าสนใจมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศที่มี AI ล้ำ ๆ เต็มไปหมด เลยขอเอามาแชร์ให้กับทุกท่านกันครับ

ใน 10 ปีที่ผ่านมา มีนักวิจัยด้าน AI คนจีนที่เก่ง ๆ เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อปี 2008 มีนักวิจัยคนจีนเพียง 100 คนที่ได้ผ่านเข้าไปโชว์ผลงานในงาน NeurIPS ซึ่งเป็น Conference ด้าน AI ระดับโลกที่โด่งดังที่สุดงานหนึ่ง แต่พอมาถึงปี 2018 กลับมีนักวิจัยคนจีนเกือบ 1,000 คนที่ผ่านเข้าไปในงานเดียวกันนี้

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานวิจัยจากจีนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ก็เพราะในปี 2017 ที่จีนมีการประกาศแผนระดับประเทศในการผลักดัน AI และมหาวิทยาลัยในจีนก็เริ่มเปิดคอร์สปริญญาในด้าน AI #น่าไปเรียนจริงๆ

อย่างไรก็ตาม ปัญหามีอยู่ว่า คนที่ส่งเปเปอร์เข้าไปในงาน NeurIPS มีเพียง 1/4 ที่อยู่ที่ประเทศจีน ส่วนที่เหลือทำงานอยู่นอกจีนกันทั้งนั้น โดยส่วนใหญ่คนที่อยู่นอกประเทศจะทำงานอยู่ที่อเมริกา

พูดตามตรงว่าแอดก็ไม่ค่อยตกใจเท่าไหร่ เพราะวันก่อนดูวีดิโอเรื่อง Data Engineer ที่ Uber คนมาพูดเป็นคนจีนที่เก่งมาก ๆ เป็นคนดูแล Infrastructure ของ Uber และจากที่เคยเรียนปริญญาโทด้าน Data Science ที่นี่ ก็มีเพื่อนคนจีนที่เรียนด้วยกัน เก่งมาก ๆ อีกเหมือนกัน คนไทยเรียนตามไม่ทัน ?

อย่างไรก็ตาม แอดคิดว่าจีนยังมีโอกาสเป็นผู้นำทางด้าน AI ของโลกได้ เพราะเค้ามีการสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึงมีอำนาจในการทำอะไรหลายอย่าง ที่ถ้าทำในประเทศแถบอเมริกา หรือยุโรป ก็คงจะโดนคนประท้วงเรื่องสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว นอกจากนั้นเทคโนโลยีเค้าก็ไปไกลมาก ๆ จ่ายเงินได้ทุกอย่างผ่านแอพ เป็น Cashless Society แบบ 200%

ส่วนของประเทศไทยเรา แอดอยากเห็นคนให้ความสำคัญของข้อมูลกันมากขึ้น และลองเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงานที่ตัวเองทำอยู่ ยังไม่ต้องถึงกับเขียนเปเปอร์แข่งกับเค้าก็ได้ แค่นี้ก็ช่วยให้เราไปไกลขึ้นได้แล้วครับ :)

สำหรับท่านใดอยากอ่านบทความเต็มของ MIT Technology Review อ่านได้ที่นี่เลยนะครับ https://bit.ly/2ZaHtnc

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save